วรรณคดีเรื่อง เงาะป่า

ประวัติความเป็นมา
เงาะป่าเป็นพระราชนิพนธ์บทละครในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องเอกของไทยที่จัดเข้าลักษณะวรรณคดีโศกนาฏกรรมแบบตะวันตก ทรงพระราชนิพนธ์ในช่วงที่ทรงพักฟื้นจากการประชวรด้วยพระโรคมาเลเรีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.124 (พ.ศ.2448) โดยใช้เวลาทรงนิพนธ์ 8 วันเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินพระราชหฤทัยในระหว่างการพักฟื้นจากการประชวร
พระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่า เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพทางศิลปะทั้งในด้านวรรณศิลป์
นาฏศิลป์ และคีตศิลป์ ลักษณะคำประพันธ์เป็นบทละครรำ
นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับ “รูปพวกเงาะโดยสังเขป”
(ความรู้เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา นิสัยใจคอ และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเงาะ)
เนื้อเรื่องเต็มไปด้วยสาระ มีแนวคิดสำคัญที่เป็นสากลคือ เรื่องของความรัก
ซึ่งเป็นความรู้สึกอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมวลมนุษย์ชาติ
ทุกภาษาและทุกชนชั้น
“จบ บทประดิษฐ์แกล้ง กล่าวกลอน
เรื่อง หลากเล่นละคร ก็ได้
เงาะ ก็อยู่เกิดในดอน แดนพัท ลุงแฮ
ป่า เป็นเรือนยากไร้ ย่อมรู้รักเป็น”
การที่ทรงเลือก “ความรัก”
มาเป็นแนวคิดสำคัญของเรื่องเงาะป่าซึ่งเป็นเรื่องราวของชีวิตของตัวละครที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่ปราศจากความสำคัญและยังป่าเถื่อนในสายตาของคนเมือง
แสดงให้เห็นถึงแนวพระราชดำริว่า
มนุษย์นั้นมีความเสมอเหมือนกันในด้านอารมณ์และความรู้สึก
แม้จะต่างเพศผิวพันธ์จะเจริญหรือล้าหลังก็ตาม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น