ลักษณะคำประพันธ์และภาษา

เป็นกลอนบทละคร
มีลักษณะสัมผัสเช่นเดียวกับกลอนแปด สิ่งที่แตกต่างระหว่างกลอนบทละครกับกลอนแปดคือ
- ตัวละครสำคัญ
กลอนบทละครจะขึ้นต้นด้วย “มาจะกล่าวบทไป” หรือ “เมื่อนั้น”
- ตัวละครไม่สำคัญ กลอนจะขึ้นต้นด้วย “บัดนั้น”
บทละครจะกำหนดเพลงสำหรับขับร้อง
มีเพลงหน้าพาทย์ ใช้ประกอบท่ารำหรือกิริยาอาการของตัวละคร
เมื่อขึ้นต้นแต่ละวรรคหรือตอนจะมีเครื่องหมาย (ฟองมันหรือตาไก่) กำกับไว้
โดยเหนือฟองมันจะมีชื่อเพลงสำหรับขับร้อง ใต้ตอนจะบอกว่ามีกี่คำกลอน
และบางเพลงจะมีหน้าพาทย์กำกับเช่น “ฯ๒ฯ โอด”
ลักษณะคำประพันธ์และภาษา
บทละครเรื่องเงาะป่า แต่งด้วยกลอนบทละครตลอดทั้งเรื่อง มีบอกเพลงกำกับไว้
ทรงใช้ภาษาอย่างเรียบง่าย มีความไพเราะไม่มีศัพท์สูงๆ ที่เข้าใจยากอย่างวรรณคดีทั่วไป
แต่ได้ทรงสอดแทรกคำศัพท์ภาษาก็อย (ซาไก) ไว้โดยตลอด
ก่อนถึงเนื้อเรื่องมีบัญชีศัพท์ภาษาก็อยใส่ไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเปิดหาความหมายของศัพท์เหล่านั้นโดยสะดวก
ถึงแม้ผู้อ่านจะไม่ได้ย้อนกลับมาเปิดศัพท์ก็อ่านได้ไม่ยาก เพราะทรงใช้คำศัพท์ภาษาก็อยควบคู่กับภาษาไทย
ทำให้เดาความหมายภาษาก็อยู่ได้
คำศัพท์ภาษาก็อยู่เดิมนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงเก็บเงาะป่าคนหนึ่งชื่อ”คนัง” ที่ทรงนำไปเลี้ยง ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า
“ส่วนศัพท์ภาษาก็อยไล่เลียงจากอ้ายคนังทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ไล่เลียงขึ้นสำหรับหนังสือนี้
ได้ชำระกันแต่แรกมา เพื่อจะอยากรู้รูปภาษาว่าเป็นอย่างไร แต่คำให้การนั้นได้มากแต่เรื่องนกหนู
ต้นหมากรากไม้เพราะมันยังเป็นเด็ก
บางทีผู้อ่านจะเหนื่อยหน่ายด้วยคำที่ไม่เข้าใจมีมาก
จึงได้จดคำแปลศัพท์ติดไว้ในสมุดเล่มนี้ด้วย”
ตัวอย่าง
แสนเอยแสนแขนง
น้อยหรือแกล้งตัดพ้อเล่นต่อหน้า
ติเล็กติน้อยคอยนินทา
ค่อนว่าพิไรไค้แคะ
พี่ก็ไม่หลีกเลี่ยงเถียงสักสิ่ง มันก็จริงกระนั้นนั่นแหละ
เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง
อย่าประมาทรูปพี่เห็นขี้เหร่ ไม่ว่าเล่นเป็นเสน่ห์ชอบใจหญิง
ชาวรั้วชาววังไม่ชังชิง อุตส่าห์ทิ้งมาลัยมาให้เงาะ
( เจ้าเงาะพูดยั่วนางรจนา )
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น