บทความ

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง  1.ความรักของหนุ่มสาวนั้นมีอานุภาพรุนแรงที่สุด อาจบันดาลให้ผู้ที่อยู่ในห้วงรักทำอะไรๆเพื่อความรักได้ทั้งนั้นบางครั้งก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมเช่นในเรื่องเงาะป่า แม้ในปัจจุบันนี้ความตายของหนุ่มสาวที่เกิดจากความรักเป็นเหตุก็ยังคงมีอยู่เสมอ ๆ 2. ผู้ใดที่มีความรัก ไม่ว่าจะเป็นความรักประเภทใด ผู้นั้นก็มักจะมีความทุกข์ตามมาด้วยเพราะรักแล้วอาจไม่สมหวัง หรือรักแล้วอาจต้องพลัดพรากกัน (ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ ความรักเป็นสั่งที่ดีแต่ควรรักอย่างมีสติ)  3. ไม่ว่าในสังคมใด แม้จะป่าเถื่อนเช่นสังคมเงาะ ก็ยกย่องผู้หญิงที่ซื่อสัตย์มั่นคงในความรักเหมือนนางลำหับ แม้ตายไปแล้วก็ยังมีผู้สรรเสริญ เป็นสัจธรรมที่แท้จริงคือความดีเท่านั้นที่คงทนจีรังยั่งยืน ชาวเงาะถึงแม้จะมีรูปชั่วตัวดำหรือมีความอัปลักษณ์แต่เป็นคนที่มีจิตใจดีงามแสดงให้เห็นว่าอย่ามองคนเพียงรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น  4. เกี่ยวกับประเพณีการแต่งงานแบบคลุมถุงชนว่าบางครั้งก่อให้เกิดความเดือดร้อนและความทุกข์ทรมาน เพราะคู่บ่าวสาวอาจมีคนรักอยู่แล้วเหมือนนางลำหับในเรื่องนี้ ดังนั้นบิดามารดาจึงไม่ควรบังคับ ...
รูปภาพ
คุณค่าและประโยชน์  1. ความรู้เกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีของพวกเงาะซาไก ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ภาษา อาวุธ การแต่งกาย ความเชื่อ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีงานศพ เช่นรู้ว่าพวกเงาะไม่มีกฎหมาย ไม่มีสถานที่ฟ้องร้องและตัดสินคดี เมื่อเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทก็ใช้วิธีตัดสินโดยการต่อสู้กันตัวต่อตัวคล้ายกับการดวล ( duel) กันเช่นเดียวกับทางตะวันตก พวกเงาะนับถือผี วิญญาณ เจ้าป่า และรุกขเทวดา เชื่อถือเครื่องรางของขลัง เมื่อตายไปเชื่อว่าจะต้องรับฝังศพเพื่อมิให้เป็นเหยื่อสัตว์ร้าย และต้องย้ายทัพหนีวิญญาณของผู้ตาย ในการสู่ขอแต่งงานฝ่ายชายต้องนำผ้าคู่หนึ่งมาให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง หลังพิธีแต่งงานมีการให้โอวาทแล้วเลี้ยงฉลอง และฝ่ายหญิงต้องเข้าไปอยู่ในป่าตามลำพังกับเจ้าบ่าว 7 วัน จึงจะกลับมายังทับเพื่อศึกษาซึ่งกันและกันและแสดงให้เห็นว่าเจ้าบ่าวสามารถดูแลปกป้องได้  2. ในสังคมของพวกเงาะนั้นด้อยความเจริญแต่เพียงด้านวัตถุ ส่วนทางด้านจิตใจมีความเจริญมากกว่าคนเมืองด้วยซ้ำไป เพราะพวกเงาะมีความรัก ความซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคีและมีคุณธรรม แม้จะมีความขัดแย้งกันบ้างเป็นเรื่องธร...
รูปภาพ
ลักษณะคำประพันธ์และภาษา                                            เป็นกลอนบทละคร มีลักษณะสัมผัสเช่นเดียวกับกลอนแปด สิ่งที่แตกต่างระหว่างกลอนบทละครกับกลอนแปดคือ - ตัวละครสำคัญ กลอนบทละครจะขึ้นต้นด้วย “มาจะกล่าวบทไป” หรือ “เมื่อนั้น”    - ตัวละครไม่สำคัญ กลอนจะขึ้นต้นด้วย “บัดนั้น” บทละครจะกำหนดเพลงสำหรับขับร้อง มีเพลงหน้าพาทย์ ใช้ประกอบท่ารำหรือกิริยาอาการของตัวละคร เมื่อขึ้นต้นแต่ละวรรคหรือตอนจะมีเครื่องหมาย (ฟองมันหรือตาไก่) กำกับไว้ โดยเหนือฟองมันจะมีชื่อเพลงสำหรับขับร้อง ใต้ตอนจะบอกว่ามีกี่คำกลอน และบางเพลงจะมีหน้าพาทย์กำกับเช่น “ฯ๒ฯ โอด” ลักษณะคำประพันธ์และภาษา           บทละครเรื่องเงาะป่า แต่งด้วยกลอนบทละครตลอดทั้งเรื่อง มีบอกเพลงกำกับไว้ ทรงใช้ภาษาอย่างเรียบง่าย มีความไพเราะไม่มีศัพท์สูงๆ ที่เข้าใจยากอย่างวรรณคดีทั่วไป แต่ได้ทรงสอดแทรกคำศัพท์ภาษาก็อย (ซาไก) ไว้โดยตลอด ก่อนถึงเนื้อเรื่องมีบัญชีศัพท์ภาษาก...
รูปภาพ
เนื้อเรื่องย่อ         ซมพลาเป็นเงาะหนุ่มได้รักนางลำหับ ซึ่งซมพลามีบุญคุณกับลำหับในการช่วยชีวิตตอนที่ไปเที่ยวป่าและโดนงูรัดเลยเกิดรักกัน ตามความเชื่อที่ว่าชายใดแตะเนื้อต้องตัว หญิงถือว่าเป็นสามีของหญิงนั้น แต่ฮเนามาสู่ขอนางลำหับกับตองยิบและนางฮอย ซึ่งเป็นบิดามารดาของลำหับ ทั้งสองตกลงใจให้นางลำหับแต่งงานกับฮเนา ซึ่งมีความเหมาะสมในฐานะ และได้จัดพิธีแต่งงานให้ พวกเงาะมาช่วยงานกันทั้งหมู่บ้าน เมื่อนางลำหับกับฮเนาแต่งงานกัน จะต้องไปเดินป่าตามประเพณี 7 วัน ซมพลาได้ทำอุบายไปลักพาตัวนางลำหับหนีมาอยู่กับตนที่ในถ้ำ ฮเนานึกว่าซมพลาบังคับเอาตัวนางลำหับไปจึงออกติดตามจนพบ ซมพลากับฮเนาได้ต่อสู้กัน รำแก้วซึ่งเป็นพี่ชายของฮเนาได้ใช้ลูกดอกอาบยาพิษเป่าไปถูกซมพลาได้รับบาดเจ็บ นางลำหับไม่เห็นซมพลากลับมา จึงออกไปตามพบซมพลาถูกลูกดอกอาบยาพิษถึงแก่ความตายไปต่อหน้าต่อหน้า ก็เสียใจ นางลำหับรักซมพลามากจึงได้ใช้มีดฆ่าตัวเองตายตามซมพลา ส่วนฮเนาเมื่อได้รู้ว่านางลำหับกับซมพลารักกันและได้เห็นความรักอันเด็ดเดี่ยวของซมพลากับลำหับ และคิดว่าตนเป็นต้นเหตุให้ทั้งสองตาย จึงฆ่าตั...
รูปภาพ
วรรณคดีเรื่อง เงาะป่า         ประวัติความเป็นมา  เงาะป่าเป็นพระราชนิพนธ์บทละครในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องเอกของไทยที่จัดเข้าลักษณะวรรณคดีโศกนาฏกรรมแบบตะวันตก ทรงพระราชนิพนธ์ในช่วงที่ทรงพักฟื้นจากการประชวรด้วยพระโรคมาเลเรีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.124 (พ.ศ.2448) โดยใช้เวลาทรงนิพนธ์ 8 วันเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินพระราชหฤทัยในระหว่างการพักฟื้นจากการประชวร                พระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่า เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพทางศิลปะทั้งในด้านวรรณศิลป์ นาฏศิลป์ และคีตศิลป์ ลักษณะคำประพันธ์เป็นบทละครรำ นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับ “รูปพวกเงาะโดยสังเขป” (ความรู้เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา นิสัยใจคอ และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเงาะ) เนื้อเรื่องเต็มไปด้วยสาระ มีแนวคิดสำคัญที่เป็นสากลคือ เรื่องของความรัก ซึ่งเป็นความรู้สึกอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมวลมนุษย์ชาติ ทุกภาษาและทุกชนชั้น ...
รูปภาพ
พระราชประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยามรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี 22 วัน  เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ( 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 57 พรรษา ผู้คนมักออกพระนามว่า "ปิยมหาราช" แปลว่า ราชายิ่งใหญ่ผู้ทรงเป็นที่รัก และว่า "พระพุทธเจ้าหลวง" พระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ในรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในตามราชประเพณีนิยมเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชิน...